เมนู

ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณประการ
หนึ่ง, กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้. เป็นสัมมสนญาณ
ประการหนึ่ง, กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้ก็เป็นสัมม-
สนญาณประการหนึ่ง.1

6. อรรถกถาอุทยัพพยานุปัสสนาญาณุทเทส


ว่าด้วย อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ


คำว่า ปจฺจุปฺปนฺนานํ ธมฺมานํ วิปริณามานุปสฺสเน ปญฺญา
ความว่า ปัญญาในการเห็นความแปรไป คือความดับไปแห่งธรรมคือ
เบญจขันธ์ ในภายในที่เป็นปัจจุบันด้วยอำนาจสันตติ. จิตแม้กำหนด
ความเกิดขึ้นว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ครั้นเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมดับไป
ดังนี้ ก็ชื่อว่าตั้งอยู่ในความแตกดับไปเหมือนกัน, เพราะฉะนั้น พึง
ทราบว่า การเกิดขึ้นแม้ไม่ได้กล่าวไว้แล้วก็เป็นอันกล่าวไว้เหมือนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง การเกิดขึ้นแห่งปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นอันกล่าว
แล้วด้วยทัสนะ เพราะสำเร็จการเห็นความเกิดขึ้น.
1. ขุ.ป. 31/99.

จริงอยู่ เว้นอุทยะคือการเกิดขึ้นเสีย ความเกิดขึ้นแห่งธรรม
ทั้งหลาย ก็ย่อมไม่สำเร็จ, เพราะฉะนั้น แม้เมื่อไม่กล่าวว่า ปัญญา
ในการตามเห็นความเกิดขึ้นและความแปรไปแห่งปัจจุบันธรรมทั้งหลาย
ก็พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวแล้วเหมือนกัน.
อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้บรรลุ
สัมมสนญาณ ตามที่กล่าวแล้วในลำดับว่า ก็การเห็นความเกิดขึ้น
ย่อมสำเร็จเพราะคำนั้นกำหนดตามพระบาลีว่า อุทยพฺพยานุปสฺสเน
ญาณํ
แปลว่า ปัญญาในการตามเห็นการเกิดและความดับไป ดังนี้
แล้ว ก็กำหนดการเกิดขึ้นและความดับไปในสังขารธรรมที่กำลังปรากฏ
ในสัมมสนญาณนั่นเอง แล้วปรารภอุทยัพพยานุปัสสนาเพื่อทำการ
กำหนดสังขารธรรมทั้งหลาย. เพราะว่าญาณนั้น ท่านเรียกว่า อุทยัพ-
พยานุปัสสนา เพราะตามเห็นความเกิดและความดับ.

7. อรรถกถาวิปัสสนาญาณุทเทส


ว่าด้วย วิปัสสนาญาณ


คำว่า อารมฺมณํ ปฏิสงฺขา ความว่า รู้ เห็น อารมณ์มี
รูปขันธ์เป็นต้น เพราะพิจารณาโดยความเป็นภังคะ คือแตกดับไป.